วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา



กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คือ สาขาหนึ่งของกฎหมายอันเกี่ยวกับสิทธิต่างๆตามกฎหมายในสิ่งที่เกิดจากความอุตสาหะซึ่งทำให้มีการสร้างสรรค์และการคิดค้นสิ่งใดๆจากภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ หรือสิทธิต่างๆตามกฎหมายในเรื่องชื่อเสียง (reputation) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มีความสำคัญในการรับรองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ผู้ประดิษฐ์คิดค้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า หากมีการสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้นมาแล้ว ผู้สร้างสรรค์หรือผู้คิดค้น หรือหากเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ย่อยจะได้รับความคุ้มครองว่าจะไม่ถูกการเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น มีสิทธิที่จะก้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน เช่น นำไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ โดยที่ตนไม่ได้อนุญาต รวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้มีการชดใช้ค่าเสียหายไดหากปรากฏว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้สร้างสรรค์ ผู้คิดค้น หรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

งานที่จะได้รับความคุ้มครอง ต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ ผู้คิดค้น ได้สร้างสรรค์หรือคิดค้นขึ้นตามประเภทที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากำหนด เช่น งานวรรณกรรม งานดนตรีกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานภาพยนตร์ งานการประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ย่อมมีความสำคัญในฐานะที่เป็นกฎหมายในประเทศ ที่รัฐจะต้องกำหนดนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย ที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายในรัฐ รัฐแต่ละรัฐอาจมีนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละรัฐต่างกัน เช่น ในขณะนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 7 ประเภท คือ

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติชื่อทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายระหว่างประเทศในรูปของสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดเป็นพันธกรณีให้แก่ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องต้องกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น