วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาสตร์แห่งการศึกษาวิชากฎหมาย

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
    
 ๑. การทำบัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          ๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
          ๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
          ๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร

     ๒. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
          ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
          ๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย

     ๓. กฎหมายทะเบียนราษฎร์
          ๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะออำ ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
          ๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาตาย

     ๔. กฎหมายจราจรทางบก เป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้รถ ใช้ถนน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
          ๑) การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
               (๑) ขับขี่รถจักรยานในทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน
               (๒) รถจักรยานที่ใช้ขับขี่ต้องมีกระดิ่งให้สัญญาณ เครื่องห้ามล้อ โคมไฟติดหน้ารถ
               (๓) ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถหรือไหล่ทาง
               (๔) ไม่ขับขี่รถจักรยานโดยประมาทเป็นที่หวาดเสียว หรือขับขี่โดยไม่จับคันบังคับ
          ๒) การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
               (๑) ให้คนเดินเท้าบนทางเท้าหรือไหล่ทางที่มี
               (๒) ห้ามไม่ให้คนเดินเท้าข้ามถนนนอกทางม้าลาย ภายในระยะไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
               (๓) ให้คนเดินเท้าที่ต้องการข้ามถนนปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจร
               (๔) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเดินแถวหรือเดินเป็นขบวนแห่ในลักษณะกีดขวางจราจร ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร


ศาลจำลอง คดีข่มขืน

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การขายฝาก

การขายฝาก  
 
     การขายฝาก คืออะไร
     การขายฝาก คือ การซื้อขายอย่างหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อ ฝากทันทีแต่มีข้อตกลงว่า ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในเวลาที่กำหนดทรัพย์สินใด ขายฝากได้บ้าง ทรัพย์สินทุกชนิดขายฝากได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ เรือ นาฬิกา แต่การซื้อขายทรัพย์บางอย่างต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

     แบบของสัญญาขายฝาก
          1. ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น บ้าน หรือที่ ดิน หรือขายฝากเรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มี ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป เรือนแพที่คนอยู่อาศัย สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค เป็นต้น
          2. ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคา 500 บาทหรือเรียกว่า 500 บาท ขึ้นไป การขายฝากนี้จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ ให้ผู้ขายและผู้ซื้อลงชื่อไว้ในหนังสือ หรือต้องมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไปแล้ว มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ศาล บังคับไม่ได้

     การไถ่ทรัพย์คืนหรือการซื้อกลับคืน
          1. สินไถ่ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องนำมาชำระแก่ผู้รับซื้อฝาก เพื่อขอไถ่เอา ทรัพย์คืนซึ่งอาจจะตกลงไว้ในสัญญาขายฝากหรือไม่ได้ตกลงไว้ก็ได้ และสินไถ่จะต้องเป็น เงินเสมอและไถ่ถอนกันด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นไม่ได้

          2. ระยะเวลาการไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก 
              2.1 การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี
              2.2 การขายฝากสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 3 ปี

          3. การไถ่ทรัพย์คืนมีข้อพิจารณาดังนี้
              3.1 ต้องไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จะไถ่เมื่อเกินกำหนดแล้วไม่ได้ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากอย่างเด็ดขาด ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่
              3.2 ขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืนสามารถทำได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่

          4. บุคคลที่มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนได้
              4.1 ผู้ขายฝากหรือทายาทของผู้ขายฝาก
              4.2 ผู้รับโอนสิทธิการไถ่ทรัพย์สินคืน
              4.3 บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้

          5. บุคคลที่มีสิทธิให้ไถ่คืนได้
              5.1 ผู้รับซื้อฝากหรือถ้าหากผู้รับซื้อฝากตายก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขาย ฝาก ต้องไปขอไถ่จากทายาทของผู้รับฝาก
              5.2 ผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น จากผู้ซื้อฝากเดิมดอกผลของทรัพย์สิน ที่ขายฝากที่เกิดขึ้นในระหว่างการขายฝากดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากซึ่งเกิดขึ้นใน ระหว่างการขายฝากย่อมตกเป็นของผู้ซื้อฝาก ค่าธรรมเนียมตอนทำสัญญาขายฝาก ผู้ซื้อฝากเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม

การค้ำประกัน


การค้ำประกัน  
 
      ค้ำประกันคืออะไร
      ค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" สัญญาว่าจะชำระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ หนี้ที่ค้ำประกันนี้จะเป็นหนี้อะไรก็ได้ทั้งสิ้น เช่น หนี้เงินกู้, หนี้ค่าสินค้า, หนี้การก่อสร้าง เป็นต้น

 
หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาค้ำประกัน
      สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้
              1. ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ
              2. ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ค้ำประกันรับ ผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันแล้วก็จะไม่ ได้ประโยชน์เพราะไม่สามารถฟ้องบังคับผู้ค้ำประกันได้

      ชนิดของสัญญาค้ำประกัน
      สัญญาค้ำประกันอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
            1. สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวนกล่าวคือ ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้ แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนเท่ากันกับ ลูกหนี้ด้วย คือ ต้องรับผิดในต้นเงิน ดอกเบี้ย ค่าเสียหายในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระ ติดพัน ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดีด้วย
            2. สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดกล่าวคือ ผู้ค้ำประกันได้ระบุจำนวนไว้ว่า จะรับผิด ไม่เกินจำนวนตามที่ได้ระบุไว้เท่านั้น ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันก็จะใช้หนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้เฉพาะเท่าจำนวนที่ตนระบุไว้เท่านั้น

      ข้อปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาค้ำประกัน
      ผู้ใดจะเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
             1. อ่านสัญญาค้ำประกันให้ครบถ้วนทุกข้อก่อนลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
             2. หากประสงค์ที่จะค้ำประกันหนี้เพียงบางส่วน ก็ให้เขียนระบุไว้โดยแจ้งชัด ในสัญญาค้ำประกันว่าประสงค์ที่จะค้ำประกันเป็นจำนวนเท่าใด
             3. หากไม่ประสงค์ที่จะรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันแล้ว ก็ต้อง ดูในสัญญาว่ามีข้อความที่ระบุว่าให้ตนรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้หรือไม่ถ้าไม่มีจึงค่อย ลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
            ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิอย่างไร ถ้าผู้ค้ำ ประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้เท่าจำนวนที่ ตนได้ชดใช้แทนลูกหนี้ไปแล้ว
            ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นจากความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้
             1. ถ้าหนี้ที่ตนค้ำประกันนั้นได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว ต่อมาเจ้าหนี้ ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด
             2. เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด

การกู้ยืมเงิน

การกู้ยืมเงิน  
 
      ความหมายของการกู้ยืมเงิน
      การกู้ยืมเงิน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" ได้กำหนดไว้จากบุคคลอีก คนหนึ่งเรียกว่า "ผู้ให้กู้" เพื่อผู้กู้จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยตามที่ประสงค์และ ผู้กู้ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้กู้ให้กู้ตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้กู้ยินยอมเสีย ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทน

 
  หลักฐานในการกู้ยืมเงิน
      การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้ มีการกู้เงินกันจริงโดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้เป็นสำคัญ หากผู้กู้ไม่สามารถเขียนหนังสือ ได้ก็ต้องมีลายนิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือดังกล่าว โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย 2 คน หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้ จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้

      อัตราดอกเบี้ย
      การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือในอัตราร้อยละ1.25 ต่อเดือน หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ย ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้คงเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นคืน ให้แก่ตนได้เท่านั้น และผู้ให้ยังต้องติดคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกิน อัตรา อาจถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมเงิน
      1. จะต้องไม่เซ็นชื่อลงในกระดาษเปล่าให้แก่ผู้ให้กู้โดยเด็ดขาด
      2. จำนวนเงินในช่องว่างในสัญญากู้ยืมเงินนั้น จะต้องลงจำนวนเงินที่กู้กันจริง ๆ เท่านั้น และต้องเขียนจำนวนเงินที่กู้กันนั้นเป็นตัวหนังสือกำกับตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าว ด้วยเสมอ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ให้กู้เติมตัวเลข
      3. หนังสือสัญญากู้จะต้องทำขึ้นอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยผู้ให้กู้ถือไว้ฉบับหนึ่งและ ผู้กู้ถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
      4. ผู้กู้จะต้องนับเงินที่ตนกู้ให้เท่ากับจำนวน ที่ตนได้กู้ไปตามสัญญาให้ครบถ้วน เสมอ หากมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นปัญหากล่าวคือ หากได้เงินไม่ครบแต่ผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อใน สัญญาให้แก่ผู้ให้กู้แล้ว ผู้ให้กู้อาจโกงผู้กู้ในภายหลังว่าได้มอบเงินให้แก่ผู้กู้ไปจนครบถ้วน แล้ว
      5. พยานในสัญญากู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้ควรให้พยานฝ่ายของตนร่วมลงลายมือชื่อใน สัญญากู้อย่างน้อย 1 คนด้วย

      ข้อควรปฏิบัติของผู้กู้ในการจะชำระเงินคืนแก่ผู้ให้กู้
      1. ต้องเรียก ใบรับเงินชำระหนี้ทุกครั้งที่ชำระ โดยให้ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้)ทำหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ ว่าได้รับเงินคืนเป็นจำนวนเท่าใด หรือได้รับคืนครบถ้วนแล้ว
      2. กรณีที่ผู้กู้ได้ชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้จนครบถ้วนแล้ว ผู้กู้จะต้องขอรับหนังสือ สัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้มาทำลายเสีย
      3. ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินคืนเพียงบางส่วน นอกจากมีใบรับเงินแล้ว ผู้กู้จะต้องให้ ผู้ให้กู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสัญญากู้ว่า ได้มีการชำระเงินคืนไปแล้วเป็นจำนวน เท่าใด โดยผู้ให้กู้จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งวันที่

      อายุความในการฟ้องร้อง
      เมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หากจะต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระเงิน คืนแล้ว เจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา ถ้าพ้น กำหนดนี้แล้ว คดีเป็นอันขาดอายุความ ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้


 

การเช่าซื้อ

การเช่าซื้อ  
 
       เช่าซื้อ   คืออะไร  เช่าซื้อ เป็นเอกเทศสัญญาที่นิยมทำกันแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากผู้มี รายได้น้อยไม่สามารถซื้อสินค้าที่มีราคาสูง โดยวิธีการซื้อขายธรรมดา จึงหันมาทำ สัญญาเช่าซื้อ โดยผู้เช่าซื้อสามารถผ่อนชำระราคาได้ในระยะเวลานาน โดยผู้เช่าซื้อ ผ่อนชำระเป็นงวด ๆจ นครบกำหนดตามสัญญาผู้เช่าซื้อก็จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นั้นไป แต่มีข้อเสียคือผู้เช่าซื้อจะต้องซื้อสินค้า ดังกล่าวในราคาที่สูงกว่าต้นทุนเนื่องจาก ผู้ให้เช่าซื้อได้คิดดอกเบี้ยรวมเข้าไปกับต้นทุนการผลิต และการคิดดอกเบี้ยก็คิดโดยเอา ระยะเวลาที่ตกลงผ่อนชำระเป็นตัวคูณ แล้วนำไปรวมกับราคาขายเป็นราคาทรัพย์ที่ ตกลงเช่าซื้อกัน การผ่อนชำระเอาจำนวนงวดเป็นตัวหารจากหลักการคิดดังกล่าว ผู้เช่า ซื้อย่อมเสียเปรียบ เพราะแม้ผ่อนชำระราคาไปแล้ว ก็มิได้มีการลดดอกเบี้ยของต้นทุนที่ ลดจำนวนลงไป

        สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะ
ขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่า
ผู้เช่าจะต้องใช้เงินเป็นงวด ๆ

       แบบของสัญญาเช่าซื้อ
       สัญญาเช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่า ซื้อ ต้องลงลายมือชื่อในสัญญา หากมิได้ทำเป็นหนังสือ หรือคู่สัญญาลงชื่อเพียงฝ่าย เดียว สัญญาจะตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา

       ผู้เช่าซื้อมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร
       ผู้เช่าซื้อมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์ สินที่เช่าซื้อกลับ คืนให้แก่เจ้าของ (ผู้ให้เช่า) โดยเสียค่าใช้จ่าย

   
       เจ้าของทรัพย์ (ผู้ให้เช่าซื้อ)มีสิทธิและหน้าที่อย่างไร
       เจ้าของทรัพย์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ

              1. ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กันเจ้าของทรัพย์ สินมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ เมื่อเจ้าของทรัพย์ผู้ให้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา เพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกันแล้ว เจ้าของทรัพย์มีสิทธิดังต่อไปนี้
คือ
              (1) ริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้มาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญาได้ และ
              (2) เจ้าของทรัพย์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้

              2. ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญาในข้อที่สำคัญ เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้เมื่อเจ้าของทรัพย์สิน(ผู้ให้เช่าซื้อ) ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า ซื้อเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ ดังนี้ คือ
              (1) ริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อมาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญาได้ และ
              (2) เจ้าของทรัพย์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ เจ้าของทรัพย์ มีหน้าที่อย่างไร เจ้าของทรัพย์มีหน้าที่ต้องไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนสิทธิใน ทรัพย์สินให้แก่ผู้เช่าซื้อในกรณีที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้ว




 

การซื้อขาย

การซื้อขาย  

 
          การซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ขาย" โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ซื้อ" โดยผู้ซื้อได้ใช้ราคาทรัพย์นั้นเป็นเงินให้แก่ผู้ขายเป็น การตอบแทน

        แบบของสัญญาซื้อขาย
        สัญญาซื้อขายต้องทำตามแบบแล้วแต่ชนิดของทรัพย์ ดังต่อไปนี้ คือ
        1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน หรือบ้าน
        2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่
                 ก. เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มี ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
                 ข. แพ
                 ค. สัตว์พาหนะ

        การซื้อขายทรัพย์ทั้งสองชนิดดังกล่าว จะต้องทำตามแบบ คือ
        (1) ต้องทำเป็นหนังสือ และ
        (2) จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยที่ดิน ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน บ้านจดทะเบียนที่อำเภอ เรือต้องจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่า แพและสัตว์พาหนะจดทะเบียนที่ อำเภอการซื้อขายทรัพย์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ถ้าไม่ทำตามแบบแล้วย่อมตกเป็นโมฆะเสียเปล่า เท่ากับว่าไม่มีการทำสัญญาเลย (ป.พ.พ. มาตรา 456)
        (3) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐาน
การซื้อขายเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ หรือวางมัดจำ หรือได้ชำระหนี้บางส่วน ถ้าไม่ได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างที่กล่าวมาแล้ว กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีต่อศาล (ป.พ.พ. มาตรา 456)

        ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้
        1. สาธารณสมบัติแผ่นดิน เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ที่ดินที่รัฐบาลหวงห้าม เช่นที่ ป่าสงวน เป็นต้น ดังนั้น ถ้าผู้ใดจะซื้อที่ดินจากผู้ใดก็ตามต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ที่ดิน ดังกล่าวเป็นป่าสงวนหรือไม่ ถ้าเป็นก็อย่าได้ซื้อไว้เป็นอันขาด เพราะจะเสียเงินเปล่าโดย ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใด
        2. สิทธิซึ่งกฎหมายห้ามโอน เช่น สิทธิที่จะได้รับมรดกของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
        3. ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามมีไว้ในความครอบครอง เช่น อาวุธปืนเถื่อน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา เป็นต้น
        4. วัดและที่ธรณีสงฆ์
        5. สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จบำนาญจากทางราชการ
        6. ทรัพย์สินที่ได้มาโดยข้อกำหนดห้ามโอน

        ชนิดของสัญญาซื้อขาย
        สัญญาซื้อขายมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
        1. สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาด เมื่อการซื้อขายสำเร็จ บริบูรณ์ การซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์เมื่อใดนั้น นอกจากการตกลงแล้ว ต้องทำตามแบบที่ กฎหมายกำหนดอีกด้วย
        2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ ใน ขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เป็นสัญญาซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ในเวลาภายหน้า เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินอันเป็นราคาของทรัพย์สินนั้น มีผลผูกพันให้แก่คู่ สัญญาต้องทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป

        การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย
        กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีตั้งแต่เมื่อตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือชำระราคากันแล้วหรือไม่
        ข้อยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้แม้ว่าจะได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม กรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินก็ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ คือ
        1. สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
        2. การซื้อขายทรัพย์สินซึ่งยังไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน
        3. การซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องทำการนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำ การอย่างอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้น แน่ นอนเสียก่อน

        ผลของการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย
        เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว เมื่อเกิดภัยพิบัติใด ๆ ขึ้นแก่ ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแล้ว ย่อมตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ขายย่อมพ้นจากความรับผิด แม้ว่าจะ ยังมิได้มีการส่งมอบหรือชำระราคากันเลยก็ตาม เว้นแต่ว่าจะได้มีการตกลงในภัยพิบัตินั้น ผู้ขายยังต้องรับผิดชอบอยู่จนกว่าจะได้มีการชำระราคาและ ส่งมอบทรัพย์สินกันแล้ว

        หน้าที่ของผู้ขาย
        1. ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ
        2. ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายในสภาพที่เรียบร้อย หากมีความชำรุดบกพร่อง เป็น เหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ ในการที่จะใช้ประโยชน์ตามสัญญา แล้วผู้ขายต้องรับผิดชอบเมื่อมีผู้มารอนสิทธิของผู้ซื้อ

        การรอนสิทธิ คือ การที่ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิดีกว่าในเวลาที่มีการซื้อขาย เรียกร้องทรัพย์คืน ผู้ขายต้องรับผิดชอบ
        หน้าที่ของผู้ซื้อ ต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนซื้อและชำระราคาให้แก่ผู้ขายตามสัญญา ซื้อขาย

        อายุความในการฟ้องร้อง
        1. ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ตกลงตามสัญญา ผู้ซื้อต้องฟ้อง
ภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบทรัพย์สิน
        2. ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
        3. ในกรณีที่เป็นการรอนสิทธิผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิมหรือถ้าผู้ซื้อได้ ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ต้องฟ้อง คดีภายในอายุความ 3 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่มีการ ประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ผู้ซื้อยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง
        4. ผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกค่าสินค้าจากผู้ซื้อ ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ



มรดก

มรดก คืออะไร
     
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ อย่างไรก็ดี ความรับผิดของทายาทจะมีขอบเขตจำกัด คือ กฎหมายกำหนดว่าทายาทไม่ต้อง รับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

     มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด
มรดกจะตกทอดแก่ทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย ในที่นี้หมาย ความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย เมื่อบุคคล ใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดย สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่ง ไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของ บุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียก ว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส

     การเป็นทายาท
บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็น
บุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพ
บุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก

     ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
          1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
          2. บิดามารดา
          3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
          4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
          5. ปู่ ย่า ตา ยาย
          6. ลุง ป้า น้า อา
          7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

     การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
          1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่าง ๆ หลายชั้น ทายาท โดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรอง ลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
          2. กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก
เสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กล่าวคือ
               (1) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน และมี คู่สมรส กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้ตาย
               (2) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่ สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
               (3) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือ ร่วมมารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมี ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ กรณี เช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
               (4) ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย คงมีแต่คู่สมรสเท่านั้น กรณีเช่นนี้คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
          3.ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน ทายาทโดย ธรรมเหล่านั้นจะได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน
          4. ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานหลายชั้น เช่น เจ้ามรดกมีทั้งลูกและหลาน ลูกมีสิทธิได้รับมรดกก่อน หลานจะไม่มีสิทธิได้รับ มรดก เว้นแต่ ลูกจะได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก หลานจึงจะเข้ารับมรดกได้โดยการ รับมรดกแทนที่
          5. ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร บุตรซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นบุตรในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
               (1) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
               (2) บุตรบุญธรรม ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็น บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
               (3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
          6. ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน ตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ทั้งสามีและภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน
          7. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม แต่บุตร บุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม และทั้งมีสิทธิได้รับมรดก
ของบิดามารดาเดิม
          8. บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส ของผู้รับบุตรบุญ ธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญ ธรรมด้วย
          9. ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย และผู้ตายก็มิได้ทำพินัย กรรมไว้ กรณีเช่นนี้มรดกจะตกทอดได้แก่แผ่นดินแบบพินัยกรรม

     1. พินัยกรรมแบบธรรมดา 
               (1) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ
               (2) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลงวันที่ เดือน ปี ขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
               (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน แล้วให้พยานทั้งสองนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมใน ขณะนั้นด้วย ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าว จะต้องเขียนชื่อตัวเองเป็น มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้
               (4) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูดลบตกเติมจะต้องทำเป็น หนังสือ ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่าง น้อย 2 คนพร้อมกัน

     2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
               (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมเป็นหนังสือด้วย ลายมือตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนให้มิได้
               (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันที่ เดือน ปี และลายมือชื่อของตนใน พินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คนไม่ได้
               (3) กรณีที่จะมีการขูดลบ ตกเติม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอง แล้วลงลายมือชื่อกำกับ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

     3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
               (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ใน พินัยกรรมของตนต่อนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
               (2) การแจ้งข้อความตามข้อ (1) ก็เพื่อให้ผู้อำนวยการเขต หรือนาย อำเภอจดข้อความเสร็จแล้วต้องอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
               (3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความนั้นถูกต้อง แล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
               (4) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี พร้อมกับเขียนลงไปในพินัยกรรมด้วยว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องเสร็จแล้ว
ประทับตราประจำตำแหน่ง
               (5) กรณีที่มีการขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบ เอกสารฝ่ายเมืองนี้ ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอจะ ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ มิฉะนั้น พินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

     4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
               (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
               (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก เสร็จแล้วลง ลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
               (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อผู้อำนวย การเขต หรือนายอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคล ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เป็น ผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
               (4) เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซอง และประทับตราประจำตำแหน่ง แล้ว ผู้ทำพินัยกรรม พยานและผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอต้องลงลายมือชื่อ
               (5) การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัย กรรมต้องลงลายมือกำกับไว้ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

     5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
               (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้า พยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น
               (2) พยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขต หรือนาย อำเภอโดยไม่ชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา ทั้งต้องแจ้ง วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและ พฤติการณ์พิเศษด้วย
               (3) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องจดข้อความที่พยานแจ้ง ดังกล่าว
               (4) พยานทั้ง 2 คนต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะลง ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออย่างน้อย 2 คนก็ได้



 

กฎหมายจราจรที่ควรทราบ

                                                   กฎหมายจราจรที่ควรทราบ 

พรบ.จราจรทางบก ม. 1-27 ว่าด้วย ทาง, การเดินรถ, ประเภทของรถชนิดต่างๆ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน

                    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

       มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
       มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
       มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2477
(2) พระราชบัญญัติจราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478
(3) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2481
(4) พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508
(5) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515
      มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
(1) การจราจร หมายความว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์
(2) ทาง หมายความว่า ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วมทางแยกทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยแต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
(3) ทางเดินรถ หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน
(4) ช่องเดินรถ หมายความว่า ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้
(5) ช่องเดินรถประจำทาง หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดให้เป็นช่องเดินรถสำหรับรถโดยสารประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกำหนด
(6) ทางเดินรถทางเดียว หมายความว่า ทางเดินรถใดที่กำหนดให้ผู้ขับรถขับไปในทิศทางเดียวกันตามเวลาที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
(7) ขอบทาง หมายความว่า แนวริมของทางเดินรถ
(8) ไหล่ทาง หมายความว่า พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้านข้างซึ่งยังมิได้จัดทำเป็นทางเท้า
(9) ทางร่วมทางแยก หมายความว่า พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่สองสายตัดผ่านกัน รวมบรรจบกัน หรือติดกัน
(10) วงเวียน หมายความว่า ทางเดินรถที่กำหนดให้รถเดินรอบเครื่องหมายจราจรหรือสิ่งที่สร้างขึ้นในทางร่วมทางแยก
(11) ทางเท้า หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน
(12) ทางข้าม หมายความว่า พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทางโดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้
บนทาง และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้าข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดินด้วย
(13) เขตปลอดภัย หมายความว่า พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
(14) ที่คับขัน หมายความว่า ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวาง หรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
(15) รถ หมายความว่า ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง
(16) รถยนตร์ หมายความว่า รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อและเดินด้วยกำลังเครื่องยนตร์ กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นยกเว้นรถที่เดินบนราง
(17) รถจักรยานยนตร์ หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนตร์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน
สองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ
(18) รถจักรยาน หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น
(19) รถฉุกเฉิน หมายความว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้
(20) รถบรรทุก หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกสิ่งของหรือสัตว์
(21) รถบรรทุกคนโดยสาร หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกคนโดยสารเกินเจ็ดคน
(22) รถโรงเรียน หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่โรงเรียนใช้รับส่งนักเรียน
(23) รถโดยสารประจำทาง หมายความว่า รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง
(24) รถแท็กซี่ หมายความว่า รถยนตร์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
(25) รถลากจูง หมายความว่า รถยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับลากจูงรถหรือเครื่องมือการเกษตรหรือเครื่องมือการก่อสร้าง โดยตัวรถนั้นเองมิได้ใช้สำหรับบรรทุกคนหรือสิ่งของ
(26) รถพ่วง หมายความว่า รถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง
(27) มาตรแท็กซี่ หมายความว่า เครื่องแสดงอัตราและค่าโดยสารของรถแท็กซี่ โดยอาศัยเกณฑ์ระยะทางหรือเวลาการใช้รถแท็กซี่หรือโดยอาศัยทั้งระยะทางและเวลาการใช้รถแท็กซี่