วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความผิดทางอาญาคืออะไร!!





ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศหากปล่อยให้ผู้ใดกระทำผิดแล้วมีการลงโทษหรือแก้แค้น ล้างแค้นกันเอง จะทำให้มีการกระทำความผิดอาญามากขึ้น บ้านเมืองจะไม่มีความสุข ทุกคนจะหันมาจับอาวุธป้องกันตัวเอง คนที่แข็งแรงกว่าจะรังแกคนที่อ่อนแอกว่า กฎหมู่หรือการเล่นพวกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาลงโทษผู้กระทำผิดเสียเองโดยโทษที่จะลงต้องเป็น โทษที่กฎหมายได้กำหนดไว้
1. ลักษณะสำคัญของความผิดทางอาญา

(1).เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง ในขณะที่กระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า "การลักทรัพย์เป็นความผิด" ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน

(2).เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่า การกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิดก็จะนำกฎหมายใหม่มาใช้กับการกระทำครั้งแรกไม่ได้

2. โทษทางอาญา มีอะไรบ้าง

โทษทางอาญา ที่จะใช้ลงโทษผู้กระทำผิดมีอยู่ 5 ชนิดเท่านั้น หากผู้ใดกระทำความผิดทางอาญา เมื่อจะมีลงโทษผู้ลงโทษจะสรรหาวิธีการลงโทษแปลก ๆ มาลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้ ต้องใช้โทษอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ลงโทษ ซึ่งเรียงจากโทษหนักไปหาโทษเบา คือ

(1) โทษประหารชีวิต ได้แก่ การเอาไปยิงเสียให้ตาย
(2) โทษจำคุก ได้แก่ การเอาตัวไไปขังในเรือนจำ
(3) โทษกักขัง ได้แก่ การเอาตัวไปกักขังหรือควบคุมไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ
(4) โทษปรับ ได้แก่ การลงโทษด้วยการปรับให้ผู้กระทำความ ความผิดจ่ายเงิน ให้แก่รัฐ
(5) ให้ริบทรัพย์สิน ได้แก่ การลงโทษริบเอาข้าของเงินทองของผู้กระทำผิดมาเป็นของรัฐ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่องสิทธิของเด็ก






สิทธิเด็ก
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ 2 กันยายน ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) มีประเทศกว่า 120 ประเทศเป็นสมาชิก ประเทศไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2535


มี 54 ข้อ มุ่งคุ้มครอง 4 ประการ
1. สิทธิในการอยู่รอด
2. สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง
3. สิทธิในการพัฒนา
4. สิทธิในการมีส่วนร่วม

1. เด็กคือ บุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่กฎหมายภายในประเทศกำหนดให้บรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น
2. เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิตามอนุสัญญาโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใด
3. การใช้สิทธิเด็กจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
4. รัฐจะต้องปฏิบัติให้สิทธิเด็กเป็นจริง
5. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัว
6. เด็กมีสิทธิในการมีชีวิตและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของเขา
7. เด็กมีสิทธิที่จะมีชื่อ สัญชาติ และรู้จักพ่อแม่ของตน
8. เด็กมีสิทธิที่จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น สัญชาติ ชื่อ และความสัมพันธ์กับครอบครัว
9. เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ มีสิทธิที่จะติดต่อกับพ่อแม่ได้
10. เด็กมีสิทธิที่จะออกจากประเทศและกลับเข้าประเทศของตน
11. ประเทศต่าง ๆ ต้องมีมาตรการป้องกันการลักพาตัวเด็กและการพาเด็กข้ามประเทศโดยเด็กไม่ยินยอม
12. เด็กมีสิทธิที่จะแสดงออกและแสดงความคิดเห็น ควรจะได้รับการพิจารณาตามสมควร
13. เด็กมีสิทธิในการแสดงออกความคิดเห็นและได้รับการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไม่จำกัดพรมแดน
14. เด็กมีสิทธิเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา
15. เด็กมีสิทธิที่จะพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
16. เด็กมีสิทธิในความเป็นส่วนตัว
17. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ รัฐควรส่งเสริมให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรมและควรป้องกันข้อมูลข่าวสารที่เป็นโทษต่อเด็ก
18. พ่อแม่มีความรับผิดชอบเบื้องต้นต่อเด็ก รัฐควรจะส่งเสริมและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมให้พ่อแม่ดูแลเด็กได้
19. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกละเมิด ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง และถูกกระทำโดยมิชอบ
20. รัฐจะต้องให้การคุ้มครองและดูแลเด็กที่ไม่มีพ่อแม่หรือพลัดพรากจากบ้านเกิดของตน
21. รัฐจะต้องมีกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
22. เด็กผู้ลี้ภัยจะต้องได้รับการคุ้มครอง
23. เด็กพิการจะได้รับการดูแลและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ และจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี
24. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลสาธารณสุขมูลฐานที่มีมาตรฐานสูงสุด รวมทั้งอาหารและอาหารเสริม
25. เด็กที่อยู่ในสถานดูแลต่าง ๆ จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพและบำบัดรักษาเป็นระยะ ๆ
26. เด็กมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม รวมทั้งการประกันสังคม
27. เด็กมีสิทธิในมาตรฐานในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอทางด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
28. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา
29. การศึกษาของเด็กจะต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจให้เต็มศักยภาพของเขา
30. เด็กชนกลุ่มน้อยและชนพื้นเมือง มีสิทธิในวัฒนธรรมของตน พูดภาษาของตน และปฏิบัติศาสนกิจของตนได้
31. เด็กมีสิทธิที่จะเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ
32. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการทำงานที่บั่นทอนสุขภาพการศึกษา หรือการพัฒนาของเด็ก
33. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการใช้เด็กเพื่อการค้าและผลิตยาเสพติด
34. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกล่วงละเมิดและแสวงหาประโยชน์ทางเพศ
35. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการค้าเด็กหรือถูกลักพาตัว รัฐจะต้องป้องกันไม่ให้เด็กถูกหาประโยชน์ในทุกรูปแบบ
36. เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกทารุณ การลงโทษ การปฏิบัติที่ต่ำทราม หรือถูกจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
37. เด็กที่อยู่ในสถานกักกันมีสิทธิได้รับการดูแลเป็นพิเศษและสามารถติดต่อกับครอบครัวได้
38. รัฐจะต้องป้องกันไม่ให้เด็กเข้าร่วมในความขัดแย้งทางอาวุธและห้ามเกณฑ์เด็กต่ำกว่า 15 ปีไปเป็นทหาร
39. รัฐจะต้องมีมาตรการฟื้นฟู เยียวยาทางร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่เป็นเหยื่อทางสงคราม รวมทั้งเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรม ถูกกระทำโดยมิชอบ หรือถูกแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
40. เด็กที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี
41. ถ้ากฎหมายในประเทศใดหรือกฎหมายระหว่างประเทศใดได้รับเอาสิทธิของเด็กมากกว่ามาตรฐานอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอยู่แล้ว อนุสัญญานี้จะไม่กระทบต่อสิทธินั้น
42. รัฐจะต้องเผยแพร่หลักการและบทบัญญัติต่างๆ ในอนุสัญญานี้ให้รับรู้อย่างกว้างขวางด้วยวิธีการที่เหมาะสมและจริงจัง

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ




ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใด  ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย  ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือ
ด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกาย  และจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอน
ยาเมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งร่างกาย และจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง


      เสพ หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ยาเสพติดให้โทษ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

      1. ประเภท 1  ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน
      2. ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา
      3. ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย
      4. ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2 เช่น อาเซติกแอนด์ไอไดร์
      5. ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

ความผิดฐานเสพยาเสพติด
      เสพกัญชา  ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 92  บัญญัติว่า "ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ดังนั้นผู้ใดเสพกัญชา ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เช่น เอากัญชา
ผสมบุหรี่แล้วสูบ หรือเสพกัญชาโดยใช้บ้องกัญชา ถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน
1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
      เสพยาบ้า หรือเฮโรอีน  ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 บัญญัติว่า "ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
      ดังนั้นผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เช่น ยาบ้า เฮโรอีน ไม่ว่าโดยวิธีการสูดดมจากการรมควัน หรือฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น
เลือดหรือสูดดมเข้าทางจมูก ถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ซึ่งมีโทษจำคุกหนักกว่าเสพกัญชา
      เสพสารระเหย  
      สารระเหย  หมายความว่า สารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสารระเหย เช่น กาวต่าง ๆ
      ผู้ติดสารระเหย  หมายความว่า ผู้ซึ่งต้องใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายและจิตใจเป็นประจำ
      ความผิดฐานเสพสารระเหยนั้น  ตาม พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 มาตรา 17 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดใช้สาร-
ระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดม หรือวิธีอื่นใด หากผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับ
ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดให้โทษ
      ความผิดฐานครอบครองยาบ้า หรือเฮโรอีน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในความครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1" ซึ่งมาตรา 67 บัญญัติว่า "ผู้ใดมีไว้ในความ
ครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท
ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้ใดครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ประเภทยาบ้าเกิน 15 เม็ด กฎหมายสันนิษฐาน
ไว้ก่อนว่าผู้นั้นครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงตลอดชีวิต"

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา



กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา คือ สาขาหนึ่งของกฎหมายอันเกี่ยวกับสิทธิต่างๆตามกฎหมายในสิ่งที่เกิดจากความอุตสาหะซึ่งทำให้มีการสร้างสรรค์และการคิดค้นสิ่งใดๆจากภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ หรือสิทธิต่างๆตามกฎหมายในเรื่องชื่อเสียง (reputation) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มีความสำคัญในการรับรองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ผู้ประดิษฐ์คิดค้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า หากมีการสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้นมาแล้ว ผู้สร้างสรรค์หรือผู้คิดค้น หรือหากเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ย่อยจะได้รับความคุ้มครองว่าจะไม่ถูกการเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น มีสิทธิที่จะก้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน เช่น นำไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ โดยที่ตนไม่ได้อนุญาต รวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้มีการชดใช้ค่าเสียหายไดหากปรากฏว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้สร้างสรรค์ ผู้คิดค้น หรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

งานที่จะได้รับความคุ้มครอง ต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ ผู้คิดค้น ได้สร้างสรรค์หรือคิดค้นขึ้นตามประเภทที่กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากำหนด เช่น งานวรรณกรรม งานดนตรีกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานภาพยนตร์ งานการประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ย่อมมีความสำคัญในฐานะที่เป็นกฎหมายในประเทศ ที่รัฐจะต้องกำหนดนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย ที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายในรัฐ รัฐแต่ละรัฐอาจมีนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละรัฐต่างกัน เช่น ในขณะนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 7 ประเภท คือ

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติชื่อทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
นอกจากนี้ยังมีกฎหมายระหว่างประเทศในรูปของสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดเป็นพันธกรณีให้แก่ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องต้องกัน

เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?



แหล่งที่ มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประ มวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย  หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี

2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงิน ได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน* หรือ ความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึง ความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความ ตกลงไว้ด้วย

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้






นิติบุคคล อื่นๆ นอกจากที่กล่าวในข้างต้น และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่ 

      (1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่า ด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ 

      (2)   บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 

      (3)   บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม 

      (4)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา



ภาษีป้าย


การจัดเก็บภาษีป้าย

     1. ป้ายที่ต้องเสียภาษี
1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ
ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน
แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ
1.2 ไม่เป็นป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย

      2. ป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่

2.1 ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ และบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ
2.2 ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือที่สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
2.3 ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
2.4 ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
2.5 ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็น
ที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2542)
กำหนดว่าต้องเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินสามตารางเมตร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2542) แต่ไม่รวมถึงป้าย
ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
2.6 ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน
2.7 ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมาย
ว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
2.8 ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์ และบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.9 ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
2.10 ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
2.11 ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
2.12 ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
2.13 ป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 กำหนดป้ายที่ได้รับ
การยกเว้นภาษีป้ายคือ
(1) ป้ายที่แสดงหรือติดตั้งไว้ที่รถยนตร์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์
(2) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน
(3) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (1) และ (2) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตาราง
เซนติเมตร

    3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ได้แก่
3.1 เจ้าของป้าย
3.2 ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้น
ได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีป้ายตามลำดับ

  4. ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
4.1 เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
4.2 ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน
นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี

     5. การคำนวณพื้นที่ป้าย อัตราค่าภาษีป้าย และการคำนวณภาษีป้าย
 5.1 การคำนวณพื้นที่ป้าย
5.1.1 ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
ส่วนกว้างที่สุด X ส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
5.1.2 ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนด ส่วนกว้างที่สุด
ยาวที่สุด แล้วคำนวณตาม 5.1.1
5.1.3 คำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
5.2 อัตราภาษีป้าย แบ่งเป็น 3 อัตรา ดังนี้
อัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร)
1) อักษรไทยล้วน 3 บาท
2) อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น 20 บาท
3) ป้ายดังต่อไปนี้ 40 บาท
ก. ไม่มีอักษรไทย
ข. อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสีย
ภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตรา ตาม 1) 2) หรือ 3)
แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
5) ป้ายใดเสียต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท

5.3 การคำนวณภาษีป้าย ให้คำนวณโดยนำพื้นที่ป้ายคูณด้วยอัตราภาษีป้าย เช่น ป้ายที่ต้องเสียภาษี
มีพื้นที่ 10,000 ตารางเซนติเมตร เป็นป้ายประเภทที่ 2 ป้ายนี้เสียภาษี ดังนี้

10,000 หาร 500 คูณ 20 เท่ากับ 400 บาท (10,000/500 X 20 = 400)

     6. หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษีป้าย

เพื่อความสะดวกในการเสียภาษี ควรแนะนำผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำหลักฐานประกอบการยื่นแบบแสดงรายการ
เพื่อเสียภาษี (ภป.1) เท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น
6.1 กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ได้แก่

1) บัตรประจำตัวประชาชน
2) สำเนาทะเบียนบ้าน
3) ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4) หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท
5) ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

6.2 กรณีป้ายรายเก่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้ว ควรนำ
ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายครั้งก่อนมาแสดงด้วย

     7. ขั้นตอนการชำระภาษี
7.1 ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภป.1) พร้อมด้วยหลักฐาน
7.2 พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเป็น 2 กรณี ดังนี้

1) กรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายประสงค์จะชำระภาษีป้ายในวันยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้าย ถ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีป้ายได้ทันทีให้แจ้งผู้เสียภาษีป้ายว่าจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าใด

2) กรณีผู้เสียภาษีป้ายไม่พร้อมจะชำระภาษีในวันยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย พนักงานเจ้าหน้าที่จะมี
หนังสือแจ้งการประเมิน (ภป.3) แจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระแก่ผู้เสียภาษี

7.3 ผู้เสียภาษีต้องมาชำระเงินค่าภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินมิฉะนั้นจะต้องเสีย
เงินเพิ่ม
7.4 การชำระภาษีป้าย
- เจ้าของป้ายมีหน้าที่ชำระภาษีป้ายเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่แสดงปีแรก

(1) ระยะเวลา ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
(2) สถานที่ชำระภาษี
- สถานที่ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้
- หรือสถานที่อื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
(3) การชำระภาษีวิธีอื่น
- ธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารสั่งจ่ายส่วนท้องถิ่น
- ส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน
- ส่งไปยังสถานที่ตาม (2)
(4) การผ่อนชำระหนี้

1. ภาษีป้าย 3,000 บาทขึ้นไป
2. ผ่อนชำระเป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน
3. แจ้งความจำนงเป็นหนังสือก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้
- ป้ายติดตั้งปีแรก
- คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด
- งวดละ 3 เดือน
- เริ่มเสียตั้งแต่งวดที่ติดตั้ง จนถึงงวดสุดท้ายของปี


งวด 1 มกราคม - มีนาคม = 100 %
งวด 2 เมษายน - มิถุนายน = 75 %
งวด 3 กรกฎาคม - กันยายน = 50 %
งวด 4 ตุลาคม - ธันวาคม = 25 %

     8. เงินเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
8.1 ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของค่าภาษีป้ายเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการ ละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของค่าภาษีป้าย
8.2 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของ ค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน
8.3 ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของค่าภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม 8.1 และ 8.2 มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย

    9. บทกำหนดโทษ
9.1 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสีย ภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000
บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9.2 ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท - 50,000 บาท
9.3 ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายหรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
9.4 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้
มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญขีหรือเอกสารเกี่ยวกับป้ายมาตรวจสอบภายในกำหนดเวลาอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


     10. การอุทธรณ์การประเมิน
เมื่อผู้เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมิน (ภป.3) แล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์การประเมิน
ต่อผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมาย โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้บริหารท้องถิ่นต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัย
อุทธรณ์

     11. การขอคืนเงินภาษีป้าย  ผู้เสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรจะต้องเสีย ผู้นั้นมีสิทธิขอรับเงินคืนได้โดยยื่นคำร้อง  ขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย