การซื้อขาย
การซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ขาย" โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ซื้อ" โดยผู้ซื้อได้ใช้ราคาทรัพย์นั้นเป็นเงินให้แก่ผู้ขายเป็น การตอบแทน
แบบของสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายต้องทำตามแบบแล้วแต่ชนิดของทรัพย์ ดังต่อไปนี้ คือ
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน หรือบ้าน
2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่
ก. เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มี ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
ข. แพ
ค. สัตว์พาหนะ
การซื้อขายทรัพย์ทั้งสองชนิดดังกล่าว จะต้องทำตามแบบ คือ
(1) ต้องทำเป็นหนังสือ และ
(2) จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยที่ดิน ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน บ้านจดทะเบียนที่อำเภอ เรือต้องจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่า แพและสัตว์พาหนะจดทะเบียนที่ อำเภอการซื้อขายทรัพย์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ถ้าไม่ทำตามแบบแล้วย่อมตกเป็นโมฆะเสียเปล่า เท่ากับว่าไม่มีการทำสัญญาเลย (ป.พ.พ. มาตรา 456)
(3) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐาน
การซื้อขายเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ หรือวางมัดจำ หรือได้ชำระหนี้บางส่วน ถ้าไม่ได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างที่กล่าวมาแล้ว กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีต่อศาล (ป.พ.พ. มาตรา 456)
ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้
1. สาธารณสมบัติแผ่นดิน เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ที่ดินที่รัฐบาลหวงห้าม เช่นที่ ป่าสงวน เป็นต้น ดังนั้น ถ้าผู้ใดจะซื้อที่ดินจากผู้ใดก็ตามต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ที่ดิน ดังกล่าวเป็นป่าสงวนหรือไม่ ถ้าเป็นก็อย่าได้ซื้อไว้เป็นอันขาด เพราะจะเสียเงินเปล่าโดย ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่อย่างใด
2. สิทธิซึ่งกฎหมายห้ามโอน เช่น สิทธิที่จะได้รับมรดกของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
3. ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามมีไว้ในความครอบครอง เช่น อาวุธปืนเถื่อน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา เป็นต้น
4. วัดและที่ธรณีสงฆ์
5. สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จบำนาญจากทางราชการ
6. ทรัพย์สินที่ได้มาโดยข้อกำหนดห้ามโอน
ชนิดของสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
1. สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาด เมื่อการซื้อขายสำเร็จ บริบูรณ์ การซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์เมื่อใดนั้น นอกจากการตกลงแล้ว ต้องทำตามแบบที่ กฎหมายกำหนดอีกด้วย
2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ ใน ขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เป็นสัญญาซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ในเวลาภายหน้า เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินอันเป็นราคาของทรัพย์สินนั้น มีผลผูกพันให้แก่คู่ สัญญาต้องทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีตั้งแต่เมื่อตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือชำระราคากันแล้วหรือไม่
ข้อยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้แม้ว่าจะได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม กรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินก็ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ คือ
1. สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
2. การซื้อขายทรัพย์สินซึ่งยังไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน
3. การซื้อขายทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องทำการนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำ การอย่างอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้น แน่ นอนเสียก่อน
ผลของการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว เมื่อเกิดภัยพิบัติใด ๆ ขึ้นแก่ ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแล้ว ย่อมตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ขายย่อมพ้นจากความรับผิด แม้ว่าจะ ยังมิได้มีการส่งมอบหรือชำระราคากันเลยก็ตาม เว้นแต่ว่าจะได้มีการตกลงในภัยพิบัตินั้น ผู้ขายยังต้องรับผิดชอบอยู่จนกว่าจะได้มีการชำระราคาและ ส่งมอบทรัพย์สินกันแล้ว
หน้าที่ของผู้ขาย
1. ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ
2. ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายในสภาพที่เรียบร้อย หากมีความชำรุดบกพร่อง เป็น เหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ ในการที่จะใช้ประโยชน์ตามสัญญา แล้วผู้ขายต้องรับผิดชอบเมื่อมีผู้มารอนสิทธิของผู้ซื้อ
การรอนสิทธิ คือ การที่ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิดีกว่าในเวลาที่มีการซื้อขาย เรียกร้องทรัพย์คืน ผู้ขายต้องรับผิดชอบ
หน้าที่ของผู้ซื้อ ต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนซื้อและชำระราคาให้แก่ผู้ขายตามสัญญา ซื้อขาย
อายุความในการฟ้องร้อง
1. ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ตกลงตามสัญญา ผู้ซื้อต้องฟ้อง
ภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบทรัพย์สิน
2. ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
3. ในกรณีที่เป็นการรอนสิทธิผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิมหรือถ้าผู้ซื้อได้ ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ต้องฟ้อง คดีภายในอายุความ 3 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่มีการ ประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ผู้ซื้อยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง
4. ผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกค่าสินค้าจากผู้ซื้อ ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น