การกู้ยืมเงิน
ความหมายของการกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงิน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" ได้กำหนดไว้จากบุคคลอีก คนหนึ่งเรียกว่า "ผู้ให้กู้" เพื่อผู้กู้จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยตามที่ประสงค์และ ผู้กู้ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้กู้ให้กู้ตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้กู้ยินยอมเสีย ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทน
หลักฐานในการกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้ มีการกู้เงินกันจริงโดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้เป็นสำคัญ หากผู้กู้ไม่สามารถเขียนหนังสือ ได้ก็ต้องมีลายนิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือดังกล่าว โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย 2 คน หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้ จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้
อัตราดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือในอัตราร้อยละ1.25 ต่อเดือน หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ย ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้คงเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นคืน ให้แก่ตนได้เท่านั้น และผู้ให้ยังต้องติดคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกิน อัตรา อาจถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมเงิน
1. จะต้องไม่เซ็นชื่อลงในกระดาษเปล่าให้แก่ผู้ให้กู้โดยเด็ดขาด
2. จำนวนเงินในช่องว่างในสัญญากู้ยืมเงินนั้น จะต้องลงจำนวนเงินที่กู้กันจริง ๆ เท่านั้น และต้องเขียนจำนวนเงินที่กู้กันนั้นเป็นตัวหนังสือกำกับตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าว ด้วยเสมอ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ให้กู้เติมตัวเลข
3. หนังสือสัญญากู้จะต้องทำขึ้นอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยผู้ให้กู้ถือไว้ฉบับหนึ่งและ ผู้กู้ถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
4. ผู้กู้จะต้องนับเงินที่ตนกู้ให้เท่ากับจำนวน ที่ตนได้กู้ไปตามสัญญาให้ครบถ้วน เสมอ หากมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นปัญหากล่าวคือ หากได้เงินไม่ครบแต่ผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อใน สัญญาให้แก่ผู้ให้กู้แล้ว ผู้ให้กู้อาจโกงผู้กู้ในภายหลังว่าได้มอบเงินให้แก่ผู้กู้ไปจนครบถ้วน แล้ว
5. พยานในสัญญากู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้ควรให้พยานฝ่ายของตนร่วมลงลายมือชื่อใน สัญญากู้อย่างน้อย 1 คนด้วย
ข้อควรปฏิบัติของผู้กู้ในการจะชำระเงินคืนแก่ผู้ให้กู้
1. ต้องเรียก ใบรับเงินชำระหนี้ทุกครั้งที่ชำระ โดยให้ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้)ทำหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ ว่าได้รับเงินคืนเป็นจำนวนเท่าใด หรือได้รับคืนครบถ้วนแล้ว
2. กรณีที่ผู้กู้ได้ชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้จนครบถ้วนแล้ว ผู้กู้จะต้องขอรับหนังสือ สัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้มาทำลายเสีย
3. ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินคืนเพียงบางส่วน นอกจากมีใบรับเงินแล้ว ผู้กู้จะต้องให้ ผู้ให้กู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสัญญากู้ว่า ได้มีการชำระเงินคืนไปแล้วเป็นจำนวน เท่าใด โดยผู้ให้กู้จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งวันที่
อายุความในการฟ้องร้อง
เมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หากจะต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระเงิน คืนแล้ว เจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา ถ้าพ้น กำหนดนี้แล้ว คดีเป็นอันขาดอายุความ ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น